วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สุดยอดที่เที่ยวฮอด จ. บึงกาฬ
           เปิดตัวกันไปเรียบร้อยแล้วสำหรับ 'บึงกาฬ' จังหวัดหมายเลข 77 ของประเทศไทย ที่หลายคนยังสงสัยว่าจังหวัดนี้ตั้งอยู่ส่วนไหนของประเทศไทยกันหนอ.......
           บึงกาฬ ชื่อนี้เคยมีสถานะเป็นแค่ อ.บึงกาฬ เขตการปกครองส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างห่างไกลจากตัวจังหวัดหนองคายไปทางทิศตะวันออกเฉียง เหนือราวๆ 136 กิโลเมตร และมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงเป็นแนวยาว เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่หลังจากประกาศเป็นจังหวัดบึงกาฬเมื่อกลางปีที่แล้ว ก็ได้รวมอำเภออีก7 แห่งที่อยู่ใกล้เคียงกันมารวมไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งจังหวัดคือ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ซึ่งในแต่ละอำเภอก็จุดเด่นและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ที่ถ้ามีโอกาสก็น่าจะได้เดินทางไปเยือนกันสักครั้ง 

1. น้ำตกเจ็ดสี (อ. บุ่งคล้า) น้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว สายน้ำไหลตกจากหน้าผาหินทรายแล้วแผ่กว้างออกสวยงามตระการตา ด้านล่างมีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำและโขดหินให้นั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ

 2. น้ำตกตาดกินรี (อ. บึงโขงหลง) อยู่ ในป่าภูลังกา เป็นน้ำตกใหญ่ไหลลงสู่หุบเหว น้ำตกชั้นบนไหลลงหลั่นกันไปตามลานหินกว้าง และมีแอ่งน้ำใสให้เราสามารถลงไปเล่นน้ำกันได้
3. บึงโขงหลง (อ. บึงโขงหลง) ทะเลสาบ ขนาดใหญ่ที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์นก โดยเฉพาะนกน้ำที่ย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงฤดูหนาว ทั้งห่านป่า นกเป็ดน้ำ นกยาง นกกระเต็น มีจุดดูนกอยู่ดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง บริเวณบึงยังมีหาดคำสมบูรณ์ที่มีหาดทรายทอดยาวในช่วงฤดูหนาว เป็นแหล่งพักผ่อนและชมวิวทิวทัศน์ มองเห็นภูลังกาเป็นฉากหลัง 4. ภูทอก (อ.ศรีวิไล ) ภูเขาหินทราย ที่มีวัดเจติยาคีรีวิหาร ตั้งอยู่เชิงเขา และมีสะพานไม้สร้างวนเวียนขึ้นไปสู่ยอดเขารวม 7 ชั้น เพื่อเป็นทางเดินขึ้นไปยังกุฏิและถ้ำที่อยู่ตามหลืบผา และมองเห็นความสวยงามของภูมิประเทศเบื้องล่างได้ไกลสุดลูกหูลูกตา ถ้าในวันที่อากาศแจ่มใสอาจมองได้ไกลถึงเทือกเขาในเขตจังหวัดนครพนม
การเดินทางไปจังหวัดบึงกาฬ สามารถเดินทางหลายเส้นทาง ดังนี้
1.รถยนต์
- จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรีแล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดขอนแก่น- จังหวัดอุดรธานี-จนถึงจังหวัดหนองคายและจากหนองคายสู่อำเภอบึงกาฬ โดยจะผ่านอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 751 กิโลเมตร
2. รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ
- จากบริษัทขนส่งจำกัด http://www.transport.co.th โทรศัพท์: 0 2 936  2841 - 48, 0 2936 2852 - 66 ต่อ 442, 311
- บริษัท แอร์อุดร จำกัด http://airudon.comze.com สำรองที่นั่ง กรุงเทพฯ โทร 02 936 2735 อุดรธานี โทร 0 4224 5789 สถานที่จำหน่ายตั๋วอาคารหมอชิต 2 ชั้น 3 ช่องจำหน่ายตั๋ว 55 และ 118 (หลังประชาสัมพันธ์ ชั้น 3)
- บริษัท 407 พัฒนา ให้บริการด้วยรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 ชนิด ม.1ข ,ม.4ข ,ม.1พ ,ม.2  ให้บริการรถสาย กรุงเทพฯ หนองคาย บึงกาฬ บุ่งคล้า, กรุงเทพฯ กุมภวาปี บึงกาฬ ,ระยอง-ขอนแก่น-พังโคน-บึงกาฬ
  และยังมีรถบริษัทเอกชนหลายแห่ง จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเริ่มจากสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร
3. รถไฟ

- มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย และขบวนรถด่วนดีเซลราง กรุงเทพ - อุดรฯ ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020  www.railway.co.th  สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592
4. เครื่องบิน
สามารถ ไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี รายละเอียดสอบถามได้ที่บริษัทการบินไทย จำกัด http://www.thaiairways.co.th/  ศูนย์สำรองที่นั่ง 0 2356 1111
สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 http://www.airasia.com/th/th/home.html
สายการบินนกแอร์   www.nokair.com Call us Nok Air at 1318 or +662- 900-9955

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 5โทร. 0-4232-5406-7 หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร.1672
เรียบเรียงข้อมูลโดย  สนุก!ท่องเที่ยว
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก วิกีพิเดีย บึงกาฬ.คอม บึงโขงหลง.คอม ศรีวิไล.เน็ต